สงครามจีน-พม่า (พ.ศ. 2308-2312) ของ อะแซหวุ่นกี้

ดูบทความหลักที่: สงครามจีน-พม่า

ในการรบกับราชวงศ์ชิงของจีนครั้งนี้ อะแซหวุ่นกี้สามารถสร้างผลงานการรบได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถใช้คนน้อยเอาชนะคนมาก เมื่อเจอกองทัพใดที่แข็งแกร่งก็เลี่ยงไม่ประทะโดยตรงแต่ล่อให้บุกเข้ามาเรื่อยๆจากนั้นหาทางตัดเสบียง และสามารถเอาชนะได้ในทุกครั้ง ถึงแม้ต้าชิงจะบุกมาถึง 4 รอบรวมทหารแล้วมากกว่า140,000นาย แต่ก็ไม่เคยชนะแม่ทัพเฒ่าผู้นี้ได้เลย ในสงครามครั้งนี้ก่อกำเนิดแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่หลายนาย รวมไปถึงแม่ทัพที่รักษาเมืองกองตนอย่างบาลามินดิน, เนเมียวสีหตู รวมถึงเนเมียวสีหบดีที่กลับจากอยุธยามาช่วยกรุงอังวะได้ทันในการบุกครั้งที่4

สุดท้ายเมื่อการต่อสู้ดำเนินมาจนทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนล้าเต็มที่ และหาประโยชน์อะไรจากการต่อสู้ที่ยืดเยื้อนี้ไม่ได้ โดยในขณะนั้นกองทัพต้าชิงได้ถูกกองทัพอังวะล้อมกระหนาบเอาไว้แล้วโดยกองทัพของเนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการพิชิตกรุงศรีอยุธยา อะแซหวุ่นกี้พิจรณาแล้วว่าต่อให้ทำลายกองทัพต้าชิงครั้งนี้ไปอีกจักรพรรดิเฉียนหลงก็คงส่งกองทัพมาอีก ดังนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงขอเจรจาสงบศึกแม้จะยังไม่ได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้ามังระ และจักรพรรดิเฉียนหลงก็ตามสุดท้ายเกิดเป็นสนธิสัญญากองตน แม้ทั้งพระเจ้ามังระและจักรพรรดิเฉียนหลงจะไม่ทรงพอพระทัยกับการเจรจาโดยพลการของแม่ทัพทั้ง2 แต่เมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นโทษมากกว่าคุณจึงไม่ได้ทำโทษร้ายแรงแก่แม่ทัพทั้ง2 หลังจากกลับมาพระเจ้ามังระจึงลงโทษภรรยาของอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ของพระชายาองค์หนึ่งของพระองค์ด้วย ด้วยการให้ยืนตากแดดและทูลหัวด้วยเครื่องบรรณาการจากจีน นอกจากนี้แล้วอะแซหวุ่นกี้ยังมีศักดิ์เป็นพระสัสสุระ(พ่อตา) ของพระเจ้าจิงกูจา หรือพระเจ้าเซงกูด้วย[5][6]